วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา (JSN Journal) ผู้ที่สนใจตีพิมพ์ในฉบับที่ 14.2 (ธันวาคม 2567) ขอให้ส่งบทความเข้าระบบไทโจภายในวันที่ 30 กันยายน 2567

ประชาสัมพันธ์: ปัจจุบัน วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา (jsn Journal) เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีวารสารวิชาการไทย ThaiJo Tier 1 มีบทความที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่นในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และกำหนดออกปีละ 2 ครั้ง คือ ฉบับที่ 1(มกราคม-มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2(กรกฎาคม-ธันวาคม)
ทั้งนี้ บทความวิจัย และบทความวิชาการจะมีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพบทความไม่น้อยกว่า 3 คนต่อหนึ่งบทความ

สำหรับท่านที่สนใจส่งบทความสามารถส่งบทความได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsn/about/submissions

และสามารถดูวารสารฉบับย้อนหลังได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsn

***ผู้ที่สนใจตีพิมพ์ในฉบับที่ 14.2 (ธันวาคม 2567) ขอให้ส่งบทความเข้าระบบไทโจภายในวันที่ 30 กันยายน 2567***

ส่งบทความได้วันสุดท้ายวันไหน?

วันที่ 30 กันยายน 2567

ข้อกำหนดในการแต่งบทความมีอะไรบ้าง?

  • บทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
  • ไฟล์ที่ส่งมาเป็นไปตามหลักเกณฑ์การเตรียมต้นฉบับ โดยใช้ระบบอ้างอิง APA และยึดตามธรรมเนียมปฏิบัติของวารสาร โดยศึกษาวารสารเล่มก่อนหน้าเป็นตัวอย่าง
  • กรณีมีภาพ หรือ ตาราง กรุณาส่งไฟล์ภาพ หรือ ตารางที่มีความคมชัด แยกมาต่างหาก
  • การคัดลอกหรือนำข้อมูลของงานวิจัยอื่น ควรอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณนักวิจัย
  • ข้อความใช้อักษร ที่มีขนาดฟอนต์ และ ตัวสะกดถูกต้อง เขียนต่อเนื่องไม่เว้นบรรทัด

หากไม่ทำตามข้อกำหนดจะเกิดอะไรขึ้น?

บทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดครบทั้งหมด

มีคำแนะนำ หรือ เทมเพลต ในการแต่งบทความหรือไม่?

1. แนวทางการจัดเตรียมต้นฉบับ

บทความต้นฉบับที่จะเสนอเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ควรมีความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 โดยจัดหน้ากระดาษด้วยขนาดมาตรฐาน ประกอบด้วย 5 ส่วน

     – ส่วนที่หนึ่ง (หน้าแรก) ระบุ ชื่อบทความ ชื่อ-สกุลผู้เขียน สังกัด บทคัดย่อ คำ สำคัญ 3-5 คำ 

     – ส่วนที่สอง (หน้าที่สอง) มีรายละเอียดเหมือนในหน้าแรกทุกประการ โดยเขียน เป็นภาษาอังกฤษ

     – ส่วนที่สาม (ตั้งแต่หน้าที่สามเป็นต้นไป) เป็นเนื้อหาของบทความโดยเรียงลำดับ ตามมาตรฐานปกติของการเขียนบทความ ทั้งนี้ ผู้เขียนควรใช้ตัวเลขอารบิคในการเรียง ลำดับองค์ประกอบของบทความในส่วนของบทนำจนถึงบทสรุป

     – ส่วนที่สี่ เอกสารอ้างอิงหรือภาคผนวก (ถ้ามี) ให้เขียนต่อท้ายจากบทสรุปตาม ลำดับโดยใช้ตัวเลขในการเรียงลำดับ การจัดทำเอกสารอ้างอิงให้ใช้ระบบ APA (American Psychological Association) เรียงจาก ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ ภาษาญี่ปุ่น 

     – ส่วนที่ห้า หน่วยงานผู้แต่ง ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ อีเมลสำหรับติดต่อผู้แต่ง 

 

2. รูปแบบของการนำเสนอ

การเตรียมต้นฉบับบทความให้มีระยะห่างระหว่างบรรทัด single space กรณี ตัวอักษรภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ให้ใช้ตัวอักษร Th Sarabun PSK/Th Sarabun New สำหรับภาษาไทยและอังกฤษ และใช้อักษร MS Mincho สำหรับภาษาญี่ปุ่น

ขนาดของตัวอักษรที่ใช้มีรายละเอียด ดังนี้

1. ชื่อบทความ: ตัวอักษรหนา ขนาด 18 พอยท์ ภาษาญี่ปุ่น 12 พอยต์ 

2. ชื่อ-สกุลของผู้เขียน และ สังกัด: ตัวอักษรหนา ขนาด 14 พอยท์ 

3. บทคัดย่อ: ตัวปกติ ขนาด 14 พอยท์ (ไม่เกิน 10 บรรทัด)

4. คำสำคัญ: ตัวปกติ ขนาด 14 พอยท์ (ไม่เกิน 5 คำ)

5. หัวเรื่อง: ระดับต้น (เช่น 1.XXX, 5.XXX, เอกสารอ้างอิง, ภาคผนวก) ตัวเข้ม ขนาด 18 พอยท์, ระดับรองลงไป (เช่น 1.1, 2.1.3) ตัวอักษรหนาขนาด 14 พอยท์

6. เนื้อหา: ตัวปกติ ขนาด 14 พอยท์

7.เชิงอรรถหน้า 1 และ 2 ให้ใช้เครื่องหมาย * เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุน การรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือ acknowledgements ใช้ตัวอักษรขนาด 10 พอยท์ เชิงอรรถในเนื้อหาบทความ: เขียนไว้ในแต่ละหน้า ตัวปกติ ขนาด 10 พอยท์ เรียงลำดับด้วยตัวเลขอารบิค

8. ตาราง: หัวข้อตัวอักษรหนา ข้อความตัวอักษรปกติ ขนาด ไม่เกิน 14 พอยท์ (หรือ ปรับสัดส่วนตามความเหมาะสม)

9. เอกสารอ้างอิง: ตัวปกติ ขนาด 14 พอยท์

10. หน่วยงานผู้แต่งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ อีเมลที่ติดต่อของผู้แต่ง: ตัวเอียง ขนาด 14 พอยท์

11. ภาคผนวก: ตัวปกติ ขนาด 14 พอยท์ (หรือ ปรับสัดส่วนตามความเหมาะสม)

12. หากมีความจำเป็นต้องใช้ตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นให้ใช้ MS Mincho ตัวอักษร ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้โดยทั่วไปในเนื้อหาให้มีขนาด 10 พอยท์ หากเป็นการใช้ภาษาญี่ปุ่นในส่วนอื่นๆ ของบทความให้ปรับขนาดตามความเหมาะสมโดยยึดถือหลักเกณฑ์ข้างต้น

 

3. ตารางและภาพ

ผู้เขียนจะต้องเรียงลำดับตารางและภาพโดยใช้ตัวเลขอารบิค (เช่น ตารางที่ 1 ภาพที่ 2) และต้องระบุชื่อตารางและภาพหลังตัวเลขด้วย ชื่อตารางกำกับไว้เหนือตาราง ชื่อแผนภูมิ รูปภาพ กำกับไว้ใต้แผนภูมิ และ ภาพ ขนาดของตัวอักษรในตารางและภาพใช้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้นโดยพิจารณาตามความเหมาะสม ความสวยงาม และลักษณะของเนื้อหา ต้องระบุแหล่งที่มาของตารางและภาพให้ครบถ้วน หากเป็นผลการศึกษาหรือ เรียบเรียงโดยผู้เขียน ให้ระบุด้วย เช่น คำนวณ/เรียบเรียง/สรุปโดยผู้เขียน

 

4. การอ้างอิงในเนื้อหาและรายการเอกสารอ้างอิง

ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบ APA โดยในเนื้อหาให้ระบุชื่อสกุลของผู้เขียน ตามด้วยปีที่พิมพ์และเลขหน้า ภายในวงเล็บ ตัวอย่างเช่น กรณีหนังสือ บทความในวารสาร หรือรายงานวิจัย (ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ, 2547, น. 20) หรือ (Feuchtwanger, 2002, p. 99) กรณีหนังสืออ้างอิง (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, 2546, น. 37) หรือ (Merriam- Webster’s collegiate dictionary, 1993, p. 125) กรณีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (ชวนะ ภวกานันท์, 2548) หรือ (Lesley University, 2005)

ในการจัดทำรายการเอกสารอ้างอิงขอให้ใส่ใจใน 4 หัวข้อต่อไปนี้

     1) การเเรียงลำดับเอกสารอ้างอิงตามพจนานุกรม โดยเรียงจากภาษาไทย อังกฤษ และ ญี่ปุ่น ตามลำดับ

     2) การใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ และ การเว้นวรรค ตามกฎของภาษานั้น ๆ หรือ ใช้หลักสากล

     3) การใช้ตัวอักษรใหญ่ หรือ เล็ก เช่น ชื่อบทความตัวแรกต้องเป็นตัวใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำทางไวยากรณ์ เช่น  Trends in the HR Development of Japanese Enterprises in Thailand in the 21st Century

     4) การขีดเส้นใต้ ข้อมูลพื้นฐาน และตัวอย่างกรณีการอ้างอิงที่ใช้กันทั่วไปกรุณาดูตามตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง (Examples of References list) ด้านล่าง สำหรับรายละเอียดอื่นๆ ขอให้ศึกษาจาก American Psychological Association (APA) 6th edition style Examples. from www.edu.au/tutorials/citing/apa-a4.pdf.

 

5. ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

หนังสือ

อรรถยา สุวรรณระดา. (2555). ประวัติวรรณคดีญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Wood, E. W., Jr. (2006). Worshipping the myths of World War II: Reflections on America’s dedication to war. Washington, DC: Potomac Books.

Rogers, T. T., & McClelland, J. L. (2004). Semantic cognition: A parallel distributed processing approach. Cambridge, MA: MIT Press.

Oguma, E. (1995). Tanitsu minzoku banashi no kigen: “Nihonjin” no jigazou no keifu [The myth of the homogeneous nation: Genealogy of “Japanese people’s” self-portrait]. Tokyo: Shinyo Sha.

小熊 英二 (1995).『単一民族話の起源<日本人>の自画像の系譜』東京:新曜社.

 

หนังสือแปล

ฟุฮิโตะ ชิโมยามะ. (2553). รู้ไว้ ก่อนใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น [The Rules of Living in Japan] (ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม สสท. (ต้นฉบับพิมพ์ ปี ค.ศ. 2008)

Oguma, E. (2002). A genealogy of ‘Japanese’ self-images (D. Askew, Trans.). Melbourne: Trans Pacific Press. (Original work published 1996)

ホワイト, W.F. (2000).『ストリート・コーナー・ソサエティ』 (Street corner society) (奥田道大, 有里典三 訳), 東京: 有斐閣.(原著1993年)

 

บทความในหนังสือที่มีบรรณาธิการ

สุมิตร คุณานุกร. (2520). การวางแผนการสอน ในไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ), คู่มืออาจารย์ด้านการเรียนการสอน. (น. 58-69). กรุงเทพฯ: หน่วยพัฒนา คณาจารย์ฝ่ายวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gill, M. J., & Sypher, B. D. (2009). Workplace incivility and organizational trust. In P. Lutgen-Sandvik & B. D. Sypher (Eds.), Destructive organizational communication: Processes, consequences, and constructive ways of organizing (pp. 53-73). New York, NY: Taylor & Francis.

砂川有里子( 2 0 1 3 ) .「コーパスを活用した類義語研究─複合辞「ニツ レテ」と「ニシタガッテ」─ 」藤田保幸( 編) , 『形式語研究論集』 (35-60). 大阪:和泉書院.

 

บทความในวารสาร

ประมูล สัจจิเศษ. (2541). ปัญหาและแนวทางแก้ไขเศรษฐกิจไทย. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 19 (2), 34-39.

Carlson, L. A. (2003). Existential theory: Helping school counselors attend to youth at risk for violence. Professional School Counseling, 6(5), 10-15.

Landman, Fred (1989a). Groups, I. Linguistics and Philosophy, 12 (5), 559-605.

Landman, Fred (1989b). Groups, II. Linguistics and Philosophy, 12 (6), 723-744. หมายเหตุ: กรณีที่อ้างอิงหลายบทความจากผู้เขียนคนเดียวกันให้กำกับที่หลังปี ด้วยอักษร a b c ตามลำดับ

坂本正(1993).「英語話者における 『て形』 形成規則の習得について」『日本 語教育』 80: 125-135.

 

รายงานวิจัย รายงานของรัฐบาล

ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว. (2535). การศึกษาสถานภาพและนโยบายเกี่ยวกับ เด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส: เด็กทำงาน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

U.S. Department of Health and Human Services, National Institutes of Health, National Heart, ung, and Blood Institute. (2003). Your guide to lowering blood pressure. (NIH Publication o. 03-5232). Retrieved from http://www.nhlbi.nih.gov/health/public/heart/hbp/hbp_low/ hbp_low.pdf

Ministry of Foreign Affairs. (1997, June 12). Peru jiken choosa iinkai no hokoku ni tsuite no Ikeda Gaimu Daijin no kishakaiken [Press interview with Foreign Minister Ikeda on the report of the investigation committee on the Peru Incident]. Ministry of Foreign Affairs, Japan. Retrieved from http://www.mofa.go.jp/mofaj/gaiko/hoka/peru/ index.html

 

สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ

ชวนะ ภวกานันท์. (2548). ธุรกิจสปาไทยน่าก้าวไกลไปกว่านี้. ค้นจาก http://www.businesstgai.co.th/content.php?data= 407720-opinion

Lesley University. (2005). Basic APA format for citing print materialist media. Retrieved from http://lesley.edu/library/guide/citation

文化庁 ( 2 0 0 2 ) . 「国語表記の基準常用漢字表記」, 国語施策情 報システム. http://www.bunka.go.jp/kokugo/main.asp? fl=list&id=1000003929&clc=1000000068

ไม่มีชื่อผู้แต่ง (No authors) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. (2546). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์. More jobs waiting for college grads. (1986, June 17). Detroit Free Press, pp. 1A, 3A.

สำนักงานกองบรรณาธิการ (Editorial office of jsn Journal) Room 606, Faculty of Political Sciences, Thammasat University, Pranakorn, Phraborom Maha Ratchawang, Bangkok 10200, Thailand Tel. Fax. 02-221-2422 URL: jsat.or.th e-mail: jsn.jsat@gmail.com

 

ส่งบทความได้ที่ไหน?

ส่งบทความผ่านระบบการจัดการวารสารออนไลน์ (Thai Journals Online: ThaiJO) ได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsn

มีค่าใช้จ่ายหรือไม่?

ค่าดำเนินการประเมินคุณภาพผลงานทางวิชาการของผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน จำนวนเงิน 3,000 บาท ชำระผ่านบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจตุรัสจามจุรี เลขที่บัญชี 413-168037-9 ทั้งนี้ สมาคมฯจะออกใบเสร็จรับเงินค่าดำเนินการประเมินคุณภาพบทความตามวันที่ผู้เขียนโอนเงิน หากจำเป็นต้องใช้ใบเสร็จตัวจริงขอให้แจ้งไปที่กองบรรณาธิการวารสารภายใน 1 สัปดาห์หลังจากชำระเงินแล้ว

หมายเหตุ  กรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพผลงานทางวิชาการมีความเห็นว่า ผลงานทางวิชาการนั้นไม่สมควรตีพิมพ์ เนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพ ทางกองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ “ไม่คืนค่าใช้จ่ายทั้งหมด”

หากบทความนั้นผ่านการตีพิมพ์เรียบร้อยแล้วจะเกิดอะไรต่อไป?

ทางสมาคมจะนำบทความของท่านเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ และ มี Ebook ให้ผู้สนใจได้เข้ามาศึกษา

ตัวอย่าง